วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การบำรุงรกษาเครื่องคอมพิวเตอร์

1. สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 
            1. ความร้อน  ได้แก่  ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องคอมพพิวเตอร์เองและภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจาก  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  เป็นสาเหตุให้มีกระแสไฟฟ้าที่เป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายในบางส่วนสูญเสีออกมาในรูปของ
ความร้อน ซึ่งความร้อนนี้เองเป็นสาเหตุของความเสียหายกัยอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์



           2. ฝุ่นผง  อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง  เพราะฝุ่นสามารถเกาะพื้นผิวชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  แผงวงจรภายใน  
เมื่อนานๆ  ไปจะเคลือบหนาขึ้นและยึดติดแน่นจนทำให้เป็นฉนวนกั้นความร้อนทำให้แผงวงจรนั้นไม่สามารถระบายความร้อนได้ซึ่งเป็นผลเสียต่อ
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  เพราะฉะนั้น  ควรกำจัดฝุ่นผงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ในบ้านควรทำความสะอาด อย่างน้อยปีละ 
1 ครั้ง  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ภายในสำนักงาน  ควรทำความสะอาดทุก 6 เดือน
          หรือแม้แต่พัดลมระบายความร้อน  ถ้ามีฝุ่นมากๆ ก็อาจทำให้ทำงานติดขัด  การระบายความร้อน
ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร  วิธีการแก้ปัญหานี้  คือ ถ้าเกิดเป็นห้องที่มีการติดเครื่องปรับอากาศแล้ว  ต้องสำรวจว่ามีเครื่องกรองอากาศเพื่อลดผุ่งละอองในห้องแล้วหรือยัง
สำหรับห้องที่ไม่ใช้ห้องปรับอากาศ  อาจจะให้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฆ์ทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น แปรง  และชุดดูดฝุ่นเล็กๆ  ซึ่งจะช่วยยืด
อายุการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้เลยทีเดีียว  แต่ที่สำคัญไม่ควรนำเครื่องดูุดฝุ่นสำหรับใช้ในบ้านเรือนหรือในรถยนต์มาดูดฝุ่นคอมพิวเตอร์เด็ดขาด  
เพราะนอกจากฝุ่นแล้วชิ้นส่วนบางส่วนชิ้นบนเมนบอร์ดอาจดูดไปด้วย


          3. แม่เหล็ก  ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  แต่จะสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลที่อยู่แผ่นดิสก์หรือแม้กระทั่งฮาร์ดิสก์ ได้  ซึ่งอาจถึงขั้นไม่ได้เลย  จอภาพก็เป็นแหล่งกำเนิดแรงแม่เหล็กด้วย  เช่นกัน  ดังนั้น  ถ้าผู้ใช้เผลอวางแผ่นดิสก์ไว้ใกล้จอภาพก็อาจทำให้ข้อมูลภาบใน
ดิสก์เสียหาย  ลำโพงก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน  รวมถึงมอเตอร์ที่ภายในเครื่องพิมพ์ก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน

          4. น้ำและของเหลว  เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย  สาเหตุเพราะ  น้ำและของเหลวจะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้หลายทาง
ด้วย กันทางที่ดีควรหาพลาสติกมาคลุมเครื่องไว้เมื่อไม่ใช้งาน

          5. กระบวนการเกิดสนิม  ตัวการที่ก่อให้เกิดสนิมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งภายนอกและแผงวงจรภายใน  ได้แก่
                    - เกลือและเหงื่อ
                    - น้ำ
                    - อากาศ (ที่มีกรดซัลฟูริก กรดเกลือ  หรือกรดคาร์บอนิกส์)
          ปัญหาใหญ่  ก็คือ  การเกิดสนิมที่อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เพราะอาจทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้หรือทำงานผิดพลาด 
 เพราะฉะนั้น  จึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดสนิม  สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์

          6. ระบบไฟฟ้า  สำหรับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า UPS ซึ่งคววรจะเป็นแบบที่มีทั้งระบบไฟฟ้าสำรองและระบบควบคุม กระแสไฟฟ้า  ที่เรียกว่า  สเตบิไลเซอร์ (Stabilizer)
          ถ้าเกิดไฟฟ้าดับภายในบ้าน  ก็ยังมีเวลาบันทึกไฟล์เก็บไฟล์ได้ทัน  หรือถ้ากรณีไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ตัวสเตบิไลเซอร์ก็จะกักไฟฟ้าส่วน เกินหรือเสริมส่วนที่ขาดไม่ให้คอมพิวเตอร์ต้องเกิดความเสียหาย


          


          7. ไฟฟ้าสถิตหรือฟ้าผ่า  ชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดแทบทุกชิ้นจะไวต่อไฟฟ้าวถิตมาก  ยิ่งเมื่อถึงเวลาอากาศหนาวๆ แล้ว (ต่างประเทศ) จะต้องมีดทปติดกับข้อมือแล้วต่อสายไฟฟ้าที่เป็นสายดิน  เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตจากตัวสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่ถ้าวันไหนเพียงรู้สึกว่าอากาศแห้งๆแล้วควรลดไฟฟ้าสถิตในตัวเองงก่อนเช่นสัมผัสกับโลหะชิ้นอื่นอย่างตู้เอกสารโลหะก่อนที่จะเริ่มเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดูชิ้นส่วนภายใน
อีกสิ่งที่สร้างความเสียหายรุนแรงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ  ฟ้าผ่า  แม้ว่าฌอกาสจะเกิดได้ยาก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีสายอากาศ แบบโทรทัศน์  แต่เวลามีพายุฝนฟ้าคะนอง  ไฟฟ้าสถิตในอากาศขณะนั้นจะสูง  ความชื่นก็สูงด้วย  ทางที่ดีอย่าพยายามเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วง
ที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง  เพราะแม้ว่าฟ้าจะไม่ได้ผ่าลงเครื่องโดยตรง  แต่ไฟฟ้าสถิตในอากาศก็สามารถสร้างความเสียหายให้คอมพิวเตอร์ในขณะที่กำลัง
ทำงานอยู่ได้


2. การบำรุงรักษาฮาร์ดเเวร์
1.การดูแลรักษา ทางด้านฮาร์ดแวร์( Hardware )1.1 เรื่องความสะอาดภายในเครื่อง คือ ฝุ่น, ใยผ้า, ใยแมงมุม, เส้นผม  พวกนี้มันจะไปเกาะอยู่ที่ซิงค์ระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อนของอุปกรณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ควรดูแลทำความสะอาด เรื่องนี้ให้ความสำคัญมากหน่อย รับรองอายุการใช้งานมากขึ้น
 1.2 ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้
1.3 สังเกตสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ลอง เปิดฝาข้างๆคอมพิวเตอร์ออกมา สังเกตดูภายใน ตัวอุปกรณ์ ว่ามีรอยไหม้ หรือที่ตัวอุปกรณ์อิเลิกทรอนิคส์ เช่น ตัวคาปาซิสเตอร์ ( ตัวทรงกระบอกที่หัวมีกากบาทที่บนหัว ) ว่ามันบวมๆ ทำถ้าจะพุพองออกมารึเปล่า มีน้ำยาเยิ้มออกมาไหม ถ้าเจอว่ามี รีบส่งซ่อมเลย เดี๋ยวคอมพิวเตอร์เราจะเสียมากกว่าเดิม แล้วก็พวกพัดลมต่างๆในเครื่องว่าหมุนดี ทุกตัวรึเปล่า ตัวไหนหยุดหมุน ก็เปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นถึงขั้นต้องซื้อเครื่องคอมใหม่ แต่ถ้าปล่อยไว้นาน ก็อาจต้องซื้อใหม่ได้
2.การดูแลรักษา ทางด้านซอฟแวร์ ( Software ) เรื่องซอฟแวร์  ยากเหมือนกันนะ มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ อธิบายยากอยู่ แต่เอาแค่ ข้อระมัดระวัง ดูแลรักษาเบื้องต้นดีกว่า ง่ายๆทำได้เอง ไม่เป็นไม่ค่อยรู้เรื่องก็ยังทำได้บ้าง แล้วค่อยเรียนรู้ต่อไป
2.1 การลงโปรแกรม  อันไหนไม่ใช้ก็ไม่ต้องลง ลงเฉพาะที่เราใช้ เป็นดี เอาโปรแกรมเข้าๆออกๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่  บางทีเครื่องอืดไปเลยก็มี แฮงค์ๆค้างๆ บางโปรแกรมกลับใช้ไม่ได้อีก อะไรประมาณนี้ ทางที่ดีก็ลงเท่าที่ใช้เป็นดี พวกเกมก็เหมือนกัน กินพื้นที่ในฮาดส์ดิสเยอะ เดี๋ยวพื้นที่จะน้อยเกินไปจนวินโดว์ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะในไดร์ซี ระวังๆตรวจสอบดูพื้นที่เหลือบ้าง ก่อนจะลงโปรแกรมอะไรลงไป
2.2 การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บในไดร์ซี ให้เก็บไปไว้อีกไดร์ ที่เราได้แบ่งฮาดส์ดิสเอาไว้ เป็นที่สำรองข้อมูลของเราดีที่สุด ปกติไดร์ซี เป็นไดร์ที่ลงโปรแกรมเสมอ เวลามีปัญหาไดร์ซีก็โดนก่อน ฉะนั้นอย่าไปเก็บเลยนะค่ะไดร์ซี ไปไว้ที่อื่นแทน จะได้ข้อมูลไม่หายกัน ไดร์ซีก็ไม่เต็มเร็วด้วยนะค่ะ โดยเฉพาะ เพลง กับ หนัง เนี่ย กินพื้นที่เยอะเนอะ
2.3 รู้จักสังเกตโปรแกรมแปลกๆ โปรแกรมแปลกๆที่เราไม่เคยเห็นในเครื่องเราตั้งแต่แรกๆที่เราใช้ ถ้ามีมา แล้วรู้ว่าเป็นโปรแกรมอะไร ถ้าไม่จำเป็นก็เอาออกไปเลยค่ะ ฉันว่ามันเด้งน่ารำคาญใจดีแท้ แต่ถ้าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ก็ไม่ว่ากัน บางทีติดมากับตอนที่เราเล่นเน็ต ตอนที่เราคลิก Yes Ok เนี่ยหละค่ะ คลิกแบบไม่ได้อ่านว่ามันคืออะไร หรือว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจแปลไม่ออก เลย Yes Ok ไว้ก่อน แต่ถ้าไม่รู้จริงๆว่ามันคือโปรแกรมอะไรก็เอาไว้ก่อน 

3. การใช้งาน Defrag ฮาร์ดดิสก์
การทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Defragmenter ก็คือการทำการจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูล ได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าหากมีไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ที่มีการเก็บข้อมูลแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อต้องการอ่าน ข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากเรามีการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์ แล้วจะทำให้การเก็บข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้น
ที่จริงแล้ว ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่น ๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูลให้มีความต่อเนื่องกันได้ เช่น Speeddisk ของ Norton และอื่น ๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำหลักการของการใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ที่มีมาให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่นครับ

ข้อแนะนำก่อนใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เพื่อให้การใช้งาน Disk Defragmenter มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนการเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ควรจะเรียกโปรแกรม Walign ก่อนเพื่อการจัดเรียงลำดับของไฟล์ที่ใช้งานบ่อย ๆ ให้มาอยู่ในลำดับต้น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ครับ โดยที่โปรแกรม Walign จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการใช้งานไฟล์ ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ ไว้ และนำมาจัดการเรียงลำดับ ให้อยู่ในส่วนแรก ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นการที่เราเรียกโปรแกรม Walign ก่อนการทำ Disk Defragmenter จะเป็นการเพิ่มความเร็วของการอ่านข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง โปรแกรม Walign จะอยู่ใน Folder C:\WINDOWS\SYSTEM\Walign.exe ครับ เปิดโดยการเข้าไปใน My Computer และเลือกไฟล์


กดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Walign เพื่อเรียกไฟล์ Walign.exe


โปรแกรมจะเริ่มต้นการ Tuning up Application เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการ Defrag ต่อไป
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำ Disk Defrag คือต้องปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นให้หมดก่อน เช่น Screen Saver, Winamp หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องทำให้มีการอ่าน-เขียน ฮาร์ดดิสก์ บ่อย ๆ เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ฮาร์ดดิสก์มีการอ่าน-เขียนข้อมูล จะทำให้โปรแกรม Disk Defragment เริ่มต้นการทำ Defrag ใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำ Defrag ไม่ยอมเสร็จง่าย ๆ หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows แบบ Safe Mode โดยการกด F8 เมื่อเปิดเครื่องเพื่อเข้าหน้าเมนู และเลือกเข้า Safe Mode แทนก็ได้

การเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenterเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter ตามรูปตัวอย่าง


เลือกที่ Disk Defragmenter เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defrag


เลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้


Rearrange program files... เลือกถ้าต้องการให้มีการจัดเรียงลำดับการเก็บข้อมูลของไฟล์
Check the drive... เลือกถ้าต้องการให้มีการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ก่อนการทำ Defrag
This time only เลือกถ้าต้องการให้การตั้งค่าข้างบน มีผลเฉพาะการเรียก Disk Defragmenter ในครั้งนี้เท่านั้น
Every time I degragment... เลือกถ้าต้องการเก็บค่าที่ตั้งไว้ให้ใช้ตลอดไปโดยไม่ต้องเข้ามาเลือกใหม่
เมื่อเลือกได้แล้วก็กด OK (แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ค่าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว จะดีกว่า)


เมื่อกด OK ก็จะเริ่มต้นการทำ Disk Defragment ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ จะค่อนข้างนานมากนะครับ ประมาณ 1-4 ชม.ทีเดียว ดังนั้นก็นาน ๆ ทำสักครั้งก็พอ ไม่ต้องทำบ่อยนัก ถ้าสงสารฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการทำงานที่หนัก ๆ มากครับ โดยส่วนตัวผมแนะนำว่า ถ้าไม่มีการลงโปรแกรมต่าง ๆ บ่อยนักก็ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้

4. การใช้งาน Disk Defragmenter
 1.เปิดโปรแกรม Disk Defragmenter โดยกดปุ่ม Start > Accessories > System Tools > Disk Defragmenter
Disk-Defragmenter-1

           2.คลิก Defragment disk เพิ่อเริ่มจัดระเบียบข้อมูลบนดิสก์
Disk-Defragmenter-2

           3.โปรแกรมจะทำการจัดระเบียบให้ฮาร์ดดิสก์
Disk-Defragmenter-3

           ในช่วงเวลาที่ Disk Defragmenter กำลังทำงาน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องทำงานอื่นไปพร้อมกัน เพราะโปรแกรมเหล่านั้นอาจบันทึกข้อมูลเพิ่มในไดร์ฟระหว่างที่โปรแกรมกำลังจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีไปจนถึงเป็นชั่วโมง เมื่อทำงานเสร็จจะแสดงหน้าจอแจ้งให้เราทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น